วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกและการตัดสินใจ

                                                                                        โดย... อารมณ์      วรานุศิษฏ์
                                                                                                  หทัยชนก  ขวัญขำ 
                                                                                                  วรรณี        เพ็งประไพ 
                  เส้นทางเดินของมนุษย์ของชีวิตมีความแตกต่างกัน     บางคนเกิดมาท่ามกลางความทุกข์ยาก  เส้นทางชีวิตแต่ละตอนมีแต่อุปสรรค  ขวากหนาม มิให้ประสบผลสำเร็จถึงจุดหมาย    บางคน                     มีชวิตที่สุขสบาย  ทุกย่างก้าวของชีวิตมีแต่ความสว่าง  ราบรื่น   ทางเดินเต็มไปด้วยความงดงาม  ปราศจากปัญหาและอุปสรรค    แต่อย่างไรก็ตามทุกชีวิตก็ต้องมีการสะดุดบ้าง
                ดังนั้น การเลือกและการตัดสินใจแก้ปัญหาจึงต้องแตกต่างกันไป  กุลชลี ไชยนันตา (2539:130) ได้สรุปลักษณะของการตัดสินใจจาก ลูมบา (Loomba, 1978:100-103)  ไว้ดังนี้
                1. การตัดสินใจเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบผลตอบแทนหรือ

ผลประโยชน์ที่จะได้ รับจากทางเลือกหลาย ๆ ทาง โดยที่ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุด
                2. การตัดสินใจเป็นหน้าที่ที่จำเป็น เพราะทรัพยากรมีจำกัด และมนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด จึงจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเพื่อให้ได้รับประโยชน์และความพอใจจากการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ
                3. ในการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์การ อาจมีการขัดแย้งกัน เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่าย บุคคล ฝ่ายการเงินการบัญชี ฝ่ายการบริหารงานบุคคล แต่ละฝ่ายอาจมีเป้าหมายของการทำงานขัดแย้งกัน ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวม
                4. กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย  2  ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  ข้อจำกัด  การกำหนดทางเลือก  ส่วนที่สอง เป็นการเลือกทางเลือกหรือ  กลยุทธ์ที่ดีที่สุดตามสภาวการณ์
                5. การตัดสินใจมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและลักษณะของปัญหา  เช่น อาจแบ่งออกได้เป็นการตัดสินใจตามลำดับขั้น ซึ่งมักเป็นงานประจำ  เช่น  การจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ตารางการทำงาน  เป็นต้น  และการตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามลำดับขั้น เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ  เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง  เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการริเริ่มงานใหม่ เ  ตั้งคณะใหม่ หรือขยายโรงงานใหม่  เป็นต้น


ชนิดของการตัดสินใจ  
                ไซมอน (Simon, 1960:5-6) ได้แบ่งชนิดของการตัดสินใจออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
                1. การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Programmed decisions)  เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาจนกลายเป็นงานประจำ เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการลาป่วย ลากิจ ลาบวช การอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน การอนุมัติผลการศึกษา เป็นต้น การตัดสินใจแบบกำหนดไว้ล่วงหน้านี้ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารเลือกทางเลือกได้น้อย เพราะว่าเป็นการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอน
                2. การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดหรือไม่มีแบบอย่างไว้ล่วงหน้า (Nonprogrammed decisions) เป็นการตัดสินใจในเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผนที่เคยปฏิบัติมาก่อน  จึงเป็นเรื่องยุ่งยากแก่ผู้ตัดสินใจ โดยที่ผู้บริหารหรือผู้ตัดสินใจจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้วย  เช่น การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนหรือผลกำไรในธุรกิจ  การตัดสินใจผลิตสินค้าตัวใหม่  การตัดสินใจในการขยายกิจการ เป็นต้น

กระบวนการตัดสินใจ (Process of decision making)
                 หมายถึง การกำหนดขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไป จนถึง ขั้นตอนสุดท้าย การตัดสินใจโดยมีลำดับขั้นของกระบวนการ ดังกล่าว เป็นการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลและมีกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจ โดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือช่วยในการหาข้อสรุปเพื่อการตัดสินใจ  
                ดังนั้นการเลือกและการตัดสินใจไปแล้วก็ต้องยอมรับและทำใจให้ได้    จำไว้เสมอว่าในตัวเรานี้มีใจสำคัญที่สุด  จงพึ่งตนเองแต่งใจให้มากกว่าแต่งร่างกาย  และจงดูใจให้ละเอียดถี่ถ้วนยิ่งกว่าดูร่างกาย

11 ความคิดเห็น:

  1. ด.ญ.บุษกร แย้มรัตน์15 มกราคม 2556 เวลา 13:17

    คุณครูเขียนได้ข้อคิดสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    ตอบลบ
  2. ให้ข้อคิดดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. ให้ข้อคิดดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. ด.ญ.กฤษณา สาทเวช5 มีนาคม 2556 เวลา 13:02

    สุดยอดไปเลยค่ะ ให้ข้อคิดดี ได้สาระ มีปัญหาอะไรก็แก้ให้ตรงจุดนั้น

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ5 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00

    ใช่ค่ะต้องตัดสินใจให้ดี

    ตอบลบ
  6. ให้ข้อคิดดีมากเลยครับ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2556 เวลา 22:27

    ่น่าอ่านมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2556 เวลา 22:28

    ่น่าอ่านมากค่ะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2556 เวลา 22:31

    ่น่าอ่านมากค่ะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ11 กันยายน 2556 เวลา 22:31

    ่น่าอ่านมากค่ะ

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ22 กันยายน 2556 เวลา 23:52

    ชอบตรงแก้ปัญหาให้ตรงจุดจัง

    ตอบลบ

ข่าวการศึกษา